การตรวจสอบและติดตั้งนั่งร้านญี่ปุ่น

หลักการและเหตุผล

ข้อมูลการประสบอันตรายแยกตามประเภทกิจการจากสำนักงานประกันสังคมพบว่า ประเทศไทยนับจากปี 2552 – 2556 กิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กิจการงานก่อสร้าง, การผลิตเครื่องดื่ม อาหาร, การค้าเครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะ, การผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติก และการหล่อหลอมกลึงโลหะ ตามลำดับ จากสถิติดังกล่าวพบว่า กิจการงานก่อสร้างเป็นกิจการที่มีผู้ประสบอันตรายสูงเป็นลำดับที่ 1 ซึ่งในการประสบอันตรายนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้หนึ่งในลักษณะของอันตรายที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากงานก่อสร้างคือ การล้มหรือการพังของนั่งร้านที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้  

1) ผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะความรู้ความชํานาญในการทํางานกับนั่งร้าน
2) ขาดการตรวจสอบ กำกับดูแลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับนั่งร้าน
3) การติดตั้งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และอุปกรณ์ต้างๆชํารุด
4) ไม่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับนั่งร้าน
5) สภาพแวดล้อมพื้นที่ที่บริเวณตั้งนั่งร้านมีสภาพที่เปียกชื้น พื้นดินทรุดตัว ถล่ม พังทลายง่าย เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความตระหนักและเกิดรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกับนั่งร้านได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐาน กิจการหรือสถานประกอบกิจการที่มีพนักงานปฏิบัติงานกับนั่งร้าน จึงควรพิจารณาจัดให้มีการอบรมหลักสูตรการติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้าน ให้กับพนักงานดังกล่าวนี้

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายจากการปฏิบัติงานกับนั่งร้าน
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการติดตั้งนั่งร้านญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบอุปกรณ์นั่งร้านญี่ปุ่นเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยได้
4) เพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- หัวหน้างาน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, ผู้ที่ปฎิบัติงานหรือทำงานกับนั่งร้านญี่ปุ่น และผู้ที่สนใจทั่วไป

วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ


วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
-  ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง
-  แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม
วุฒิบัตรผ่านการอบรม

Visitors: 91,269