บริการตรวจรับรองระบบไฟฟ้าประจำปี

กฎกระทรวง “กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550″
การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน”  หมายความว่า การตรวจสอบ การทดสอบ การตรวจทดสอบการศึกษาหรือค้นคว้า การวิเคราะห์ การหาข้อมูลหรือสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์หรือเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการผลิต การส่งหรือเพื่อส่ง การจ่ายหรือเพื่อจ่าย การใช้หรือการซ่อมระบบไฟฟ้าในโรงงาน

ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจําทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐาน
       การจัดให้มีเอกสารตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
       ในกรณีที่มีเหตุอันควร รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานตามวรรคหนึ่งก็ได้
       การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานที่จัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้จัดให้มีผู้ตรวจสอบนั้นได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว

ตรวจสอบรับรองความปลอดภัย ระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า กฎหมาย เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้า(กระทรวงแรงงาน)

กฎกระทรวง “กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558”

ข้อ ๑๒ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า
ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามแบบท้ายประกาศนี้ กรณีนายจ้างได้ดําเนินการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยมีวิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบให้ถือว่าเป็นการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ตรวจสอบ 

สามารถแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์แต่ละรายการ

1. การตรวจสอบทั่วไป

การตรวจสอบในขั้นตอนนี้  เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกันเป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว การตรวจทั่วไปมีดังนี้

1) สายไฟฟ้า
2) เซอร์กิตเบรกเกอร์
3) ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย
4)  การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า
5)การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
6)  แบตเตอรี่

2. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

เป็นการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรได้รับการตรวจสอบมีหลายรายการดังนี้

2.1   หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้
2.1.1  ตัวถังหม้อแปลง
2.1.2  การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง
2.1.3  สารดูดความชื้น
2.1.4 ป้ายเตือนอันตราย
2.1.5  พื้นลานหม้อแปลง
2.1.6  เสาหม้อแปลง
2.1.7  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
2.1.8   ตรวจสภาพหม้อแปลงและการติดตั้งอื่น

2.2  ตู้เมนสวิตช์ 
การตรวจสอบตู้เมนสวิตช์หรือตู้สวิตช์ประธาน ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้
2.2.1 สภาพของระบบสายดินและการต่อหลักดิน

2.2.2  บริเวณโดยรอบตู้และตัวตู้ ตู้เมนสวิตช์ต้องมีพื้นที่ว่างให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก การตรวจพื้นที่โดยรอบและสภาพทั่วไป ควรตรวจสิ่งต่อไปนี้
1)   พื้นที่ว่าง
2)   เส้นทางที่จะเข้าไปยังพื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน
3)   ตรวจจสอบว่ามีการวางวัสดุที่ติดไฟได้ติดกับตู้เมนสวิตช์
4)   ฝุ่น หยากไย่ โดยรอบตู้และภายในตู้
2.2.3  ความผิดปกติทางกายภาพ
2.2.4  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
2.2.5  การตรวจอื่น ๆ อาจมีการตรวจสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดที่หน้าแผง หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

2.3    แผงย่อย
การตรวจสภาพแผงย่อย (panel board) เป็นการตรวจสอบทั้งบริเวณการติดตั้งในพื้นที่ทั่วไป และพื้นที่ที่มีสารไวไฟ สำหรับพื้นที่ที่มีสารไวไฟให้ระบุประเภทและแบบของบริเวณนั้นด้วย
2.3.1  ระบบต่อลงดิน
2.3.2 บริเวณโดยรอบ
2.3.3  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
2.3.4 การตรวจอื่น ๆ ตรวจสอบเช่นเดียวกับตู้เมนสวิตช์

2.4    สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อาจตรวจสอบเฉพาะในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่จัดเก็บวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายเท่านั้น ในการตรวจสอบให้ระบุชนิดของอุปกรณ์ด้วยว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใด เหมาะสมกับที่ใช้ในบริเวณ (พื้นที่) อันตรายหรือไม่
2.4.1  พื้นที่ติดตั้ง
2.4.2  สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า
2.4.3  บริเวณโดยรอบอุปกรณ์
2.4.4  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
2.4.5  การตรวจอื่น ๆ เป็นการตรวจสอบสภาพทั่วไปอื่น ๆ ที่สามารถพบได้จากการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น การป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า และการต่อลงดิน เป็นต้น

2.5    โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
การตรวจสอบโคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นการตรวจสอบรายการต่อไปนี้
2.5.1  การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ
2.5.2  หลอดไฟและขั้วหลอด
2.5.3  สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
2.5.4  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม
2.5.5  การตรวจอื่น ๆ

                                                     ขอใบเสนอราคา

 

 

ตรวจสอบไฟฟ้า
ตรวจสอบไฟฟ้า
ตรวจสอบไฟฟ้า
ตรวจสอบไฟฟ้า
กรุณากรอกข้อความ...
Visitors: 91,242